Archive for สิงหาคม 2014

ขอบเขตการให้บริการ
                ห้องปฏิบัติการชันสูตร   โรงพยาบาลควนโดน     ตระหนักถึงความสำคัญของการวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ ที่มีผลต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเป็นสำคัญ  เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยโรคของแพทย์   การติดตามผลการรักษา และเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรค โดยให้บริการทั้งตรวจวิเคราะห์ภายในห้องปฏิบัติการชันสูตร   และส่งตรวจต่อให้กับหน่วยงานภายนอกในรายการตรวจที่ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์เองได้  หรือในรายการตรวจที่ต้องการยืนยันผลการวิเคราะห์ โดยขอบเขตการให้บริการของห้องปฏิบัติการชันสูตร   มีดังนี้
1.ตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจ จากผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ ทางห้องปฏิบัติการใน 6 สาขางานหลักได้แก่
1.1                       งานโลหิตวิทยา
1.2                       งานเคมีคลินิก
1.3                       งานจุลชีววิทยา 
1.4                       งานภูมิคุ้มกันวิทยา 
1.5                       งานจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก 
1.6                       งานธนาคารเลือด
       ส่วนงานทางด้าน  พยาธิวิทยา,เซลล์วิทยา,ชีวโมเลกุลและพิษวิทยา ทางห้องปฏิบัติการชันสูตร  จะทำการส่งตรวจ
ต่อให้กับหน่วยงานต่างๆที่ระบุไว้ในแต่ละรายการทดสอบ                  
2.          จัดเตรียมสิ่งส่งตรวจเพื่อส่งตรวจต่อหน่วยงานภายนอกในรายการตรวจที่ไม่สามารถตรวจวิเคราะห์ได้เอง
3.          เก็บสิ่งส่งตรวจจากผู้ป่วยหรือผู้รับบริการสำหรับการตรวจวิเคราะห์   Clotting Time และ KOH
4.          ประสาน / จัดหาและขอใช้เลือด/ส่วนประกอบของเลือดให้กับผู้ป่วยอย่างเพียงพอ ถูกต้อง และปลอดภัย
5.          จัดเตรียมและจ่ายอุปกรณ์การเก็บสิ่งส่งตรวจต่างๆ ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายใน/ภายนอกโรงพยาบาล
6.          ให้ข้อมูลทางการแพทย์และวิชาการต่างๆเกี่ยวกับการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ
การนำส่งสิ่งส่งตรวจ
                ทางห้องปฏิบัติการชันสูตร   โรงพยาบาลควนโดน   กำหนดรูปแบบการนำส่งดังนี้
                1.  หน่วยงานภายในโรงพยาบาล
                    1.1  งานผู้ป่วยใน :  เจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานนำส่งสิ่งส่งตรวจให้กับห้องปฏิบัติการโดยตรง
                     1.2  งานผู้ป่วยนอก :   เจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานนำส่งสิ่งส่งตรวจให้กับห้องปฏิบัติการ
                     1.3  วันราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์   ปฏิบัติงานช่วงเวลา 16.30 น. 00.30 น.
                     1.4   ON – CALL                                ปฏิบัติงานช่วงเวลา 00.30 น. 08.00 น.
                     1.5  วันเสาร์-อาทิตย์                             ปฏิบัติงานช่วงเวลา 08.30 น. 16.30 น.
                 2.        หน่วยงานภายนอกโรงพยาบาล นำส่งสิ่งส่งตรวจให้กับให้กับห้องปฏิบัติการชันสูตรโดยตรง ตามความสะดวกและเหมาะสมของแต่ละหน่วยงาน
    การนำส่งสิ่งส่งตรวจกรณีขอผลด่วน
1.     หน่วยงานที่ทำการส่งตรวจ ระบุความต้องการในกรณีขอผลด่วน โดย ระบุ ด่วน ด้วยกระดาษสติ๊กเกอร์สีแดง  ที่TUBEนำส่งสิ่งส่งตรวจนั้นๆ
2.     นำส่งให้กับห้องปฏิบัติการชันสูตรโดยตรงทันที
3.     ห้องปฏิบัติการชันสูตรทำการรับสิ่งส่งตรวจทันที
4.     ดำเนินการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจนั้นๆตามรายการที่สั่งตรวจทันที
5.  กรณีหน่วยงานต่างๆต้องการผลการตรวจวิเคราะห์ด่วนพร้อมๆกันหลายหน่วยงานทางห้องปฏิบัติการชันสูตรจะทำการจัดลำดับความเร่งด่วนในการตรวจวิเคราะห์ดังนี้
      ลำดับที่ 1.   จะทำการตรวจวิเคราะห์ให้กับสิ่งส่งตรวจจาก  ER
      ลำดับที่ 2.   จะทำการตรวจวิเคราะห์ให้กับสิ่งส่งตรวจจาก  OPD ต่างๆ
      ลำดับที่ 3.  จะทำการตรวจวิเคราะห์ให้กับสิ่งส่งตรวจจาก  WARD ต่างๆ                          
      ลำดับที่ 4.   จะทำการตรวจวิเคราะห์ให้กับสิ่งส่งตรวจจาก  Check  Up
                อุปกรณ์สำหรับการเก็บสิ่งส่งตรวจ
1.        แบบฟอร์มการส่งตรวจชนิดต่างๆ
2.        ภาชนะสำหรับบรรจุสิ่งส่งตรวจ
2.1     หลอดสำหรับบรรจุเลือดพร้อมสารกันเลือดแข็ง
ชนิดของ Tube เก็บเลือด
สีจุก       
สารป้องกันเลือดแข็ง
สิ่งส่งตรวจ
Clotted  blood  Tube
แดง        
ไม่มี       
 Serum
Lithium heparin   Tube
เขียว       
Lithium heparin
Lithium heparin  plasma
EDTA  Tube
ม่วง        
EDTA    
 EDTA Blood
Sodium citrate Tube
ฟ้า
 Sodium citrate
Sodium citrate plasma
NaF  Tube
เทา
Sodium fluoride
Sodium fluoride plasma
2.2     แก้วสำหรับเก็บปัสสาวะ
2.3      ตลับสำหรับเก็บเสมหะ
2.4     แก้วเก็บอุจจาระ
2.5      หลอดอาหารเลี้ยงเชื้อสำหรับการส่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย
2.6     ขวด Hemoculture สำหรับเก็บเลือดส่งเพาะเชื้อแบคทีเรีย
3.        Sticker สำหรับการบ่งชี้สิ่งส่งตรวจ
คำแนะนำในการเก็บสิ่งส่งตรวจ
1.        การจัดเตรียมความพร้อมก่อนการเก็บสิ่งส่งตรวจ
1.1     ตรวจสอบรายละเอียดตามคู่มือการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินการและเตรียมการ(กรณีที่ต้องขอใช้บริการพิเศษ)
1.2      จัดเตรียมอุปกรณ์และภาชนะตามคำแนะนำที่ระบุ เพื่อทำการเก็บสิ่งส่งตรวจให้ถูกต้องและเพียงพอสำหรับการตรวจ
1.3     ตรวจสอบรายการส่งตรวจตาม Order ของแพทย์ พร้อมการ Key  Request ตามรายละเอียด
1.4     ติด  Sticker  ซึ่งมีรายละเอียด  ชื่อ-สกุล ผู้ป่วย  ,H.N.,Test  ที่สั่งตรวจ ,วันที่   ติดบนภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจนั้นๆให้ชัดเจนก่อนการเก็บสิ่งส่งตรวจ
1.5      กรณีที่สิ่งส่งตรวจ ต้องใช้สารป้องกันการแข็งตัว หรือ preservatives ต้องผสมให้เข้ากันโดยกลับหลอดคว่ำไปมา ประมาณ   5-10 ครั้ง เพื่อความถูกต้องของผลการตรวจ
1.6     ตรวจสอบให้แน่ใจว่าภาชนะบรรจุสิ่งส่งตรวจไม่มีการ รั่ว ซึม
1.7     ระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขการขอรับบริการพิเศษลง Order  Note เพื่อแจ้งให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการชันสูตร   รับทราบทุกครั้ง เช่น การขอผลด่วน การขอให้รายงานผลทางโทรศัพท์ ภายในเวลาที่ระบุ เป็นต้น
1.8     ควรนำส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการทันทีหลังการเก็บสิ่งส่งตรวจแล้วเพื่อความถูกต้องของผลการตรวจ กรณีที่ไม่สามารถนำส่งได้ทันที ควรจัดเก็บสิ่งส่งตรวจไว้ในอุณหภูมิและสภาวะที่เหมาะสม ระหว่างการรอนำส่งสิ่งส่งตรวจมายังห้องปฏิบัติการชันสูตร  
2.    การเตรียมผู้ป่วย
ในการเก็บสิ่งส่งตรวจจำเป็นต้องคำนึงถึงการเตรียมผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง การเก็บสิ่งส่งตรวจที่เป็นเลือด ก่อให้เกิดอาการเจ็บ ดังนั้นการขอความยินยอมจากผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็น การประเมินข้อบ่งห้ามต่างๆ เช่น ภาวะเลือดออกง่าย จำเป็นต้องกระทำอย่างรอบคอบ ก่อนการเก็บสิ่งส่งตรวจ ต้องอธิบายขั้นตอนและขอความยินยอมผู้ป่วยก่อนเสมอ
2.1     การเตรียมทางด้านจิตใจ ต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย เช่น วัตถุประสงค์ในการตรวจ ความรู้สึกขณะจัดเก็บสิ่งส่งตรวจ การบอกข้อมูลแก่ผู้ป่วยจะช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ป่วยได้
2.2     การเตรียมทางด้านร่างกาย ต้องมีการแนะนำให้ผู้ป่วยเตรีมตัวล่วงหน้าสำหรับการตรวจบางชนิด เช่น กรณีตรวจน้ำตาล ให้ผู้ป่วยงดอาหารข้ามคืน อย่างน้อย 6- 8 ชั่วโมง และ 8-12 ชั่วโมง เมื่อต้องการตรวจระดับไขมัน
3.      ขั้นตอนการเจาะเก็บเลือดมีดังนี้
3.1    ตรวจสอบคำสั่งของแพทย์ / ชนิดของการตรวจ
3.2    เตรียมอุปกรณ์ให้ครบถ้วน
3.3    ติด sticker  บน  tube
3.4   ตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดดังนี้ 
3.4.1  ชื่อ สกุลและ HN ของผู้รับบริการ โดยการสอบทวนจากผู้ป่วยและใบนำส่ง
3.4.2  รายการที่ต้องการส่งตรวจ
3.4.3  ชนิดของ  tube Specimen  ให้ถูกต้องก่อนทำการเจาะเลือด  (ห้ามไม่ให้เจาะเลือดจนกว่าได้ทราบข้อมูลที่ถูกต้องของผู้รับบริการทั้งหมด)
3.5      จัดท่าผู้รับบริการอยู่ในท่าที่สบายเหมาะสมโดยให้ ผู้รับบริการอยู่ในท่านั่ง  มีพนักพิง  หมอนรองแขนเสมอหรือในกรณี  หอผู้ป่วยใน ผู้รับบริการต้องอยู่ในท่า   นอนเสมอ
3.6  ใช้สายรัดแขนเหนือข้อศอกหรือบริเวณที่เจาะประมาณ 3 – 4 นิ้ว   โดยไม่ควรนานกว่า 1 นาที
3.7  ให้ผู้รับบริการกำคลายมือ  5–10 ครั้ง  โดยพูดว่า  กรุณากำ-คลายมือประมาณ 5-10 ครั้ง  เพื่อให้เห็นเส้นเลือดชัดและดูดเลือดได้ง่ายขึ้นค่ะ กรณีเห็นเส้นเลือดไม่ชัดเจน  ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง กดบริเวณเส้นเลือดที่เลือกจนเส้นโป่งชัด
3.8   ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะเจาะด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์  70%   โดยเช็ดจากจุดศูนย์กลางหมุนวนเป็นวงกลมออกสู่ภายนอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  5 เซนติเมตร  รอจนแอลกอฮอล์แห้ง  ห้ามใช้นิ้วสัมผัสเส้นเลือดอีก
3.9   ใส่ถุงมือ disposible  เจาะเส้นเลือดในตำแหน่งที่กำหนดไว้  โดยใช้นิ้วหัวแม่มือดึงผิวบริเวณใต้ตำแหน่งเจาะ 1 – 2 นิ้ว ให้ตึง หงายปลายตัดของเข็มขึ้นแทงลงในตำแหน่งที่กำหนดไว้  โดยมุมแทงของเข็มประมาณ  15  องศา  เมื่อเข็มเข้าเส้นแล้ว ควรถอดสายรัดออก  หลังจากถอดสายรัด  2 – 3 วินาที  จึงเริ่มดูดเลือด
3.10 การรัดไม่ควรเกินกว่า  1 นาที  การรัดนานเกินควรมีผลให้เกิด  hemoconcentration  ของเลือด  และเพิ่มความเข้มข้นของสารต่างๆ ในตัวอย่างเลือด   ดังนั้นจึงควรรีบปลดสายรัดทันทีที่เริ่มดูดเลือด ผู้เจาะเลือดมือใหม่อาจปฏิบัติได้ยาก   เนื่องจากขณะปลดสายรัดอาจทำให้ปลายเข็มเลื่อนออกจากเส้นเลือด    ทำให้ต้องเจาะใหม่ ในกรณีนี้อาจปลดสายรัดในช่วงดูดเลือดเสร็จและก่อนการถอนเข็มออกจากเส้นเลือด  การถอนเข็มออกจากเส้นเลือดโดยไม่ได้ปลดสายรัดเป็นเหตุให้เลือดไหลออกที่บริเวณรอยเจาะและเข้าไปใต้ผิวหนังรอบๆ ทำให้เกิดรอยจ้ำเลือด  (hematoma) ในเวลาต่อมา
3.11 ในการเจาะเลือดแต่ละครั้งหากเจาะเกิน  1 ครั้ง  แล้วยังไม่สำเร็จให้ขอความช่วยเหลือจากผู้เจาะเลือดที่มีความชำนาญสูงกว่า โดยแจ้งกับผู้รับบริการว่า  “ขอโทษนะคะ  ที่เจาะเลือดครั้งเดียวไม่ได้ เดี๋ยวจะเชิญพยาบาลอีกท่านมาเจาะให้คุณนะคะ
3.12 เมื่อเก็บตัวอย่างครบถ้วนแล้วดึงเข็มออกจากเส้นเลือด กดบริเวณรอยเจาะเลือดด้วยสำลีแห้งปราศจากเชื้อโดยทันที  (ห้ามสวมปลอกเข็มกลับคืน)  กดห้ามเลือดไว้ 2–3 นาที  หรือจนกว่าเลือดจะหยุดปิดพลาสเตอร์ปิดแผลหลังจากเลือดหยุดไหลแล้ว 
3.13  ปล่อยเลือดใส่  tube  เลือดตามชนิดของแต่ละ tube เลือด   โดยถอดเข็มออกแล้วปล่อยเลือดลง  tube ให้เลือดไหลลงตามข้าง tube  จนครบตามปริมาณที่ต้องการ และเรียงลำดับการใส่เลือดตามชนิดของแต่ละ tube 
3.14  ทิ้งวัสดุมีคม  (เข็มหรือ  lancet)  ลงภาชนะบรรจุของมีคม
3.15 จะต้องผสมตัวอย่างเลือดที่ใช้ในหลอดที่มีสารกันเลือดแข็งทันที  (เช่น CBC)  โดยพลิกหลอดกลับไปมาเบาๆ   5-10 ครั้ง
3.16  เก็บอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ ถอดถุงมือ และล้างมือทันที
หมายเหตุ : ควรหลีกเลี่ยงการเกิด  Hemolysis  ของเลือด  ซึ่งอาจมีสาเหตุเกิดจาก
1.     ใช้เข็มเจาะเลือดเล็กเกินไป  ควรเลือกขนาดของเข็มให้เหมาะสม  เช่น  เบอร์  20 – 21
2.        ฉีดเลือดใส่  Tube  เก็บเลือดแรงเกินไป
3.        เขย่าเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแรงเกินไปแทนที่จะคว่ำไปมาเบาๆ
4.        ขณะเจาะเลือดดึง  Syring  แรงเกินไป
5.        หลังจากเจาะเลือดมาใหม่ๆ รีบปั่นแยกเลือดเร็วเกินไป  โดยที่ยังได้ปล่อยให้เลือดแข็งตัวอย่างสมบูรณ์
6.        รีบเจาะเลือดเร็วเกินไป  โดยที่แอลกอฮอล์บริเวณที่เจาะเลือดยังไม่แห้ง
7.        บีบเค้นอวัยวะที่เจาะเลือด  เช่น  นิ้วมือหรือส้นเท้ามากเกินไปในการเจาะเลือด
นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงการเกิด  venous  stasis  ซึ่งเกิดจากการรัดสายยางรัด  (tour - niquet)  นานเกินไป  ทำให้สารที่ไม่สามารถซึมผ่านผนังเส้นเลือดเกิดคั่งมากบริเวณที่เจาะเลือด  โดยทั่วไปไม่ควรรัดนานเกิน  2 นาที
การเก็บรักษาตัวอย่างกรณีที่ไม่สามารถตรวจได้ทันที
ชนิดตัวอย่าง
วิธีการเก็บรักษา
ระยะเวลา
ในการเก็บรักษา
1. ปัสสาวะ

2. อุจจาระ

3. EDTA  Blood


4. NaF ,Lithium  Blood
5. Serum

6. Sputum

7. Culture

    - Urine

    - Blood

    - CSF,น้ำจากส่วนต่างๆ
   -  Pus


    - Sputum

    - Throat  Swab
1.ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 C   -8o C
2.ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C -   8o C
3.ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C -   8o C
4.ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C -   8o C
5.ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็นช่องแข็ง
6.ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C - 8 o C


ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C - 8 o C
ปิดฝามิดชิดเก็บไว้ที่
อุณหภูมิห้อง
ปิดฝามิดชิดเก็บไว้ที่
อุณหภูมิห้อง
ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C - 8 o C
ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C - 8 o C
ปิดฝามิดชิดเก็บใน
ตู้เย็น 2 o C - 8 o C


1  วัน
1  วัน

1  วัน


1  วัน

7  วัน

1  วัน



1  วัน

1  วัน

1  วัน

1  วัน


1  วัน


1  วัน
ยินดีต้อนรับสู่ My Blog

Translate(แปลภาษา)

LABORATORY ล้วนๆ

จำนวนการดูหน้าเว็บ

- Copyright © LAB-KHUANDOON - Robotic Notes - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -