i)
การเก็บปัสสาวะ
· เตรียมผู้ป่วยโดยแนะนำให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณ Urethra หรือ Labia
ให้สะอาดเสียก่อน
· ปัสสาวะทิ้งในตอนแรกเล็กน้อยแล้วเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (mid stream urine) ใส่ภาชนะที่แห้งสะอาด จะทำให้ได้ผลดีที่สุด
· นำส่งห้องปฏิบัติการชันสูตรทันทีหรือเก็บในตู้เย็น 4 องศาชั่วคราว (ถ้าไม่สามารถส่งได้ภายใน
1 ชั่วโมง)
ii)
การเก็บอุจจาระ
การส่งตรวจ อุจจาระ (Stool Examination) เก็บอุจจาระใส่ภาชนะที่จัดเตรียมให้ได้ปริมาณ
10-20 กรัม (1-2 ช้อนสำหรับเก็บอุจจาระ) โดยไม่ให้มีปัสสาวะหรือน้ำล้างอื่นๆ
ปนเปื้อน เพราะอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้
และควรนำส่งห้องปฏิบัติการทันทีเพื่อให้ได้ผลการตรวจ ที่มีความถูกต้อง
และน่าเชื่อถือมากที่สุด
การส่งตรวจเลือดในอุจจาระ (Occult
blood) ควรควบคุมอาหารของผู้ป่วยก่อนส่งตรวจ เนื่องจากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เลือดสัตว์
ปลา และยาต่างๆ
ที่มีส่วนผสมของเหล็ก โบรไมด์ ไอโอไดน์
หรือวิตามินซี (ascorbic acid) ถ้ามีปริมาณมากพอทำให้เกิดผลลบปลอมได้
จึงงดอาหารเหล่านี้ก่อนส่งตรวจประมาณ
2 วัน
และส่งตรวจซ้ำอีก 3 – 6 ครั้ง เพื่อยืนยันผลการทดสอบ
iii)
น้ำอสุจิ
·
แนะนำให้ผู้ป่วยเก็บและส่งตรวจทันที เพราะหากเก็บไว้นานผลอาจผิดพลาด
ทางที่ดีควรเก็บที่โรงพยาบาลนำส่งทันทีและงดร่วมเพศประมาณ 2 – 3 วัน ก่อนเก็บน้ำอสุจิส่งตรวจ และ ระบุเวลา
ที่เก็บทุกครั้ง (ตามรายละเอียดใน Card file name : แนวทางปฏิบัติ : การเก็บน้ำอสุจิ (Sperm) เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
iv)
ของเหลวในช่องต่างๆ ของร่างกาย (body
fluid)
·
ควรเก็บใส่หลอดแก้ว / ขวดแก้วที่มีสารกันการแข็งตัว (anticoagulant) โดยเก็บหลอดละประมาณ 5 มิลลิลิตร จำนวน 2
หลอด ดังนี้
หลอดที่
1.ใส่ heparin
เพื่อส่งตรวจทางเคมีคลินิกและจุลทรรศน์ศาสตร์คลินิก
หลอดที่
2.เก็บโดยปราศจากเชื้อ
เพื่อส่งตรวจทางจุลชีววิทยา