แนวทางปฏิบัติการขอเลือด
1.ขั้นการเขียนใบขอเลือดและเจาะเลือดผู้ป่วย
1.1 เขียนใบขอเลือดโดยกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ลงในใบขอเลือด ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ระบุวันจะใช้ หรือ “ด่วน” ถ้ากรอกรายละเอียดไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือลายมือที่อ่านยาก ฝ่ายธนาคารเลือด รพ.สตูล จะปฏิเสธ ไม่รับดำเนินการให้ ต้องกลับมาแก้ไขให้ถูกต้องก่อน
1.2 การสั่งขอเลือดในคอมพิวเตอร์ระบบ Hos-OS แล้วเลือก ชนิดของโลหิตที่ขอ เช่น Pack red cell 1 unit(23201)พร้อมทั้งยืนยันและดำเนินการค่าการจัดการการรับบริจาคโลหิต ถ้าขอ 2 Units ก็ให้สั่งซ้ำ 2 ครั้ง รพ.สตูลสามารถเตรียมส่วนประกอบโลหิตได้ทุกชนิด
1.3 การเจาะเลือดผู้ป่วย ก่อนเจาะเลือดให้ติดสติกเกอร์ที่ตรงกับใบขอเลือด ตามข้อ 1.1
1.4 ทำการเจาะเลือดผู้ป่วย อย่างถูกวิธี ไม่ให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง( Hemolysis )และเจาะไม่ผิดตัว โดยถามว่า ชื่อ – นามสกุลอะไรครับ/ค่ะ เพื่อให้ผู้ป่วยตอบชื่อ – นามสกุลของเขาเอง เมื่อการระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง ตรงกับใบขอเลือดและข้างหลอด จึงทำการเจาะเลือด จำนวนประมาณ 6 มล. (ฝาสีแดง)ใส่ในหลอดสำหรับขอเลือดโดยเฉพาะ ไม่ต้องคว่ำ –หงายหลอด นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบขอเลือด
1.5
ในทางปฏิบัติหากต้องการเตรียมความพร้อมในการให้เลือด
หรือต้องการเจาะเลือดไว้รอคำสั่งอนุมัติจากแพทย์สามารถเจาะเก็บไว้ที่ห้องปฏิบัติการได้แต่ไม่ต้องส่งใบขอเลือด
เมื่อแพทย์มีคำสั่งอนุมัติให้นำใบขอเลือดมายังห้องปฏิบัติเพื่อขอเลือดเป็นลำดับถัดไป(ควรทำในรายจำเป็นและให้เน้นการประหยัดในการใช้อุปกรณ์
labควบคู่กันไปด้วย)
2. ขั้นลงทะเบียนและไปขอเลือด
2.1 ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ เจ้าหน้าที่งานชันสูตรฯ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลอดเลือด ใบขอเลือด และใบจ่ายเลือดใบเดิม (กรณีรับป่วยยังไม่จำหน่าย และมีการขอเลือดซ้ำอีก – ต้องนำใบนี้ไปด้วยเพื่อตรวจสอบกับครั้งที่แล้ว )
2.2 ตรวจหาหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ของผู้ป่วย โดยวิธี Cell grouping – slide method จากเลือดที่ส่งมาพร้อมกับใบขอเลือด แล้วบันทึกผลในคอมพิวเตอร์ระบบ Hos-OS
2.3 เตรียมอุปกรณ์ (กระติกและ Ice pack) สำหรับใส่หลอดเลือดไปขณะนำส่งและใส่ถุงเลือดกลับมา
2.4 ลงข้อมูลใน โปรแกรม LAB REFER หรือใบส่งlabที่เหมาะสม พร้อมใบขอรถ และประสานขอใช้รถให้ไปขอเลือด(ในวันเวลาราชการ)
2.1 ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ เจ้าหน้าที่งานชันสูตรฯ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลอดเลือด ใบขอเลือด และใบจ่ายเลือดใบเดิม (กรณีรับป่วยยังไม่จำหน่าย และมีการขอเลือดซ้ำอีก – ต้องนำใบนี้ไปด้วยเพื่อตรวจสอบกับครั้งที่แล้ว )
2.2 ตรวจหาหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ของผู้ป่วย โดยวิธี Cell grouping – slide method จากเลือดที่ส่งมาพร้อมกับใบขอเลือด แล้วบันทึกผลในคอมพิวเตอร์ระบบ Hos-OS
2.3 เตรียมอุปกรณ์ (กระติกและ Ice pack) สำหรับใส่หลอดเลือดไปขณะนำส่งและใส่ถุงเลือดกลับมา
2.4 ลงข้อมูลใน โปรแกรม LAB REFER หรือใบส่งlabที่เหมาะสม พร้อมใบขอรถ และประสานขอใช้รถให้ไปขอเลือด(ในวันเวลาราชการ)
2.5
นอกเวลาราชการ ในทางปฏิบัติห้องปฏิบัติการไม่สามารถขอรถได้ ให้หน่วยงานที่ขอเลือดประสานขอใช้รถให้ไปขอเลือดแทน
ส่วนห้องปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกในการประสานงานและติดตาม ตามปกติ
3. ขั้นการเก็บและขนย้ายโลหิต
3.1 เก็บในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 ±2 องศาเซลเซียส เก็บได้นานตามชนิดของน้ำยากันเลือดแข็งที่ใช้ (อ่านรายละเอียดที่ข้างถุงเลือด)
3.2 การขนย้าย ควรบรรจุถุงโลหิต ในภาชนะที่มีอุณหภูมิ ใกล้เคียง 4 ±2 องศาเซลเซียส (ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส)
3.3 เมื่อพลขับกลับจาก รพ.สตูล มาถึง รพ.ควนโดน จะนำส่งให้เจ้าหน้าที่งานชันสูตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจ่ายโลหิต
3.1 เก็บในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 ±2 องศาเซลเซียส เก็บได้นานตามชนิดของน้ำยากันเลือดแข็งที่ใช้ (อ่านรายละเอียดที่ข้างถุงเลือด)
3.2 การขนย้าย ควรบรรจุถุงโลหิต ในภาชนะที่มีอุณหภูมิ ใกล้เคียง 4 ±2 องศาเซลเซียส (ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส)
3.3 เมื่อพลขับกลับจาก รพ.สตูล มาถึง รพ.ควนโดน จะนำส่งให้เจ้าหน้าที่งานชันสูตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจ่ายโลหิต
4. ขั้นการจ่ายเลือดให้ผู้ป่วย
4.1 ก่อนจ่ายเลือด เจ้าหน้าที่งานชันสูตรฯ จะลงทะเบียนโปรแกรม LAB REFER พร้อมพิมพ์ ใบเฝ้าระวังปฏิกิริยาการให้เลือด (FM-KD-LAB-021) หรือใบเฝ้าระวังที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องของหมู่เลือด ความครบถ้วนของจำนวนโลหิต หมายเลขถุงเลือดที่ได้รับมา เก็บเอกสารการจ่ายเลือดของ รพ.สตูล ไว้ เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะโทร.ให้ หน่วยที่ขอ มารับเลือดและชุด (Set)ให้เลือด
4.2 การให้เลือดแก่ผู้ป่วยที่ Ward, ER หรือ LR จะมีการปฏิบัติตามขั้นตอน ภายใต้การกำกับดูแล เฝ้าดูอาการ โดยแพทย์และพยาบาล อย่างใกล้ชิด (FM-KD-LAB-021)
4.1 ก่อนจ่ายเลือด เจ้าหน้าที่งานชันสูตรฯ จะลงทะเบียนโปรแกรม LAB REFER พร้อมพิมพ์ ใบเฝ้าระวังปฏิกิริยาการให้เลือด (FM-KD-LAB-021) หรือใบเฝ้าระวังที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องของหมู่เลือด ความครบถ้วนของจำนวนโลหิต หมายเลขถุงเลือดที่ได้รับมา เก็บเอกสารการจ่ายเลือดของ รพ.สตูล ไว้ เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะโทร.ให้ หน่วยที่ขอ มารับเลือดและชุด (Set)ให้เลือด
4.2 การให้เลือดแก่ผู้ป่วยที่ Ward, ER หรือ LR จะมีการปฏิบัติตามขั้นตอน ภายใต้การกำกับดูแล เฝ้าดูอาการ โดยแพทย์และพยาบาล อย่างใกล้ชิด (FM-KD-LAB-021)
5. ขั้นการนำเลือด ส่งคืน รพ.สตูล
5.1 เลือดที่ไม่ได้ให้แก่ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยที่ขอใช้เลือด จะนำส่งคืนมาที่งานชันสูตร นำส่งคืนไปที่ รพ.สตูล (จ่ายเฉพาะค่า Matching เท่านั้น)
5.2 เกณฑ์การพิจารณาการส่งคืนเลือด
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบเปิด ต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง (เลยเวลาห้ามใช้-ทิ้งลงถุงแดง)ในภาชนะที่มีอุณหภูมิ
ใกล้เคียง 4 ±2 องศาเซลเซียส
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบปิด วันหมดอายุ ดูที่ข้างถุงเลือด
· เกล็ดเลือด มีอายุ 24 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุด 5 วันที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
· FFP เก็บที่ Deep freeze เมื่อนำมาละลายแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง (ไม่ใช้ให้ทิ้ง)
· ส่วนประกอบโลหิตชนิดอื่นๆ ดูวันหมดอายุที่ข้างถุงเลือด
· ขอ Plt conc. หรือ Cryoprecipitated ให้จองล่วงหน้า
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบปิด วันหมดอายุ ดูที่ข้างถุงเลือด
· เกล็ดเลือด มีอายุ 24 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุด 5 วันที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
· FFP เก็บที่ Deep freeze เมื่อนำมาละลายแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง (ไม่ใช้ให้ทิ้ง)
· ส่วนประกอบโลหิตชนิดอื่นๆ ดูวันหมดอายุที่ข้างถุงเลือด
· ขอ Plt conc. หรือ Cryoprecipitated ให้จองล่วงหน้า
6. กรณีที่ รพ.สตูล ขาดแคลนเลือด แนวทางแก้ไข มีเป็นลำดับดังนี้
· ประสานกับ รพ.ละงู
· ประสานญาติผู้ป่วย เพื่อให้ไปบริจาคทดแทน
· แผนกพยาธิ รพ.ตรัง