i)   การส่งตรวจสารระเหย  เช่น  alcohol, cyanide  ใน  gastric  lavage  หรือเลือดปิดฝาภาชนะให้สนิท  ถ้าไม่สามารถส่งตรวจทันทีให้เก็บในตู้เย็น  4 องศาเซลเซียล
ii)   การตรวจปริมาณ  alcohol  (ethanol)  ในเลือด  ให้เจาะเลือด  2 มลใส่ขวด  NaF  (ฝาสีเทาปิดฝาให้สนิทพันทับด้วย  sealing  film  ห้ามใช้  70% alcohol  ฆ่าเชื้อในการเจาะเลือด  ควรใช้ยาฆ่าเชื้อชนิดอื่น  เช่น  betadine, mercuric  nitrate, ทาผิวหนังบริเวณเจาะเลือด
iii)  ตัวอย่างตรวจระดับยาในเลือดทุกชนิดใช้clotted  blood  เจาะใส่ขวดเดียวกัน  ยกเว้นตรวจระดับยา  cyclosporin  และการพิสูจน์พ่อแม่ลูกใช้  EDTA  blood  1 – 2 ml.  (ฝาสีม่วง)
iv)  การตรวจตะกั่วในเลือด (Lead  Level)ใช้  EDTA  blood  3  ml.  (ฝาสีม่วง)
v)   ตัวอย่างส่งตรวจ pesticides  intoxication ได้แก่  gastric  lavage  ปัสสาวะและตัวอย่างของสารพิษ  (ถ้ามีกรณีสงสัยสารกลุ่ม organophosphate ให้เจาะ clotted blood ประมาณ 5 มล.สำหรับตรวจหาระดับ  enzyme  acetylcholinesterase
vi)   กรณีที่ผู้ป่วยมาด้วยอาการเป็นพิษจากสารที่ไม่ทราบชนิด  ให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจดังนี้ 
·       การเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยควรส่ง gastric  lavage  ครั้งแรกปัสสาวะ  เลือด และยาหรือสารที่สงสัยว่าผู้ป่วยได้รับ(ถ้ามี)
·       แพทย์ควรระบุชนิดของยาหรือสารที่สงสัยทำให้เกิดพิษในใบส่งตรวจเพื่อช่วยให้การวิเคราะห์ได้ผลรวดเร็วขึ้น
·       ถ้าแพทย์ให้ยารักษาแก่ผู้ป่วยก่อนส่งตัวอย่างตรวจจะต้องระบุยาที่ให้ทุกชนิด  เพื่อช่วยให้การตรวจได้ผลดีและรวดเร็วขึ้นเพราะผลตรวจบางรายพบยาที่เกิดจากการรักษา  ทำให้แปลผลไม่ตรงตามที่ต้องการ








ยินดีต้อนรับสู่ My Blog

Translate(แปลภาษา)

LABORATORY ล้วนๆ

จำนวนการดูหน้าเว็บ

- Copyright © LAB-KHUANDOON - Robotic Notes - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -