i)                    การเพาะเชื้อจากเลือด
ขวดใส่เลือดสำหรับเพาะเชื้อเก็บที่อุณหภูมิห้อง  มี  2 ชนิด  คือ
·             ผู้ใหญ่เจาะ เลือด  5 – 10 ml. 
·             เด็ก  (ผู้ใหญ่ที่เจาะเลือดยากเจาะเลือด 1-3 ml.
     ข้อปฏิบัติในการเก็บและส่งตัวอย่างจากเลือด 
1. ก่อนเจาะเลือด นำขวด hemoculture ออกจากตู้เย็น ให้อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง
2. เลือกชนิดของขวด hemoculture ให้ถูกต้องกับสิ่งส่งตรวจที่ต้องการเก็บ ดังนี้
   ขวด BacT/Alert สำหรับเพาะเชื้อ aerobe, anaerobe และ fungus แบ่งเป็น 3 ชนิด
- ขวด BacT/Alert FA สำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กโต ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 5-10 มล.
- ขวด BacT/Alert PF สำหรับเด็กเล็ก ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 0.5-4 มล.
- ขวด BacT/Alert MB สำหรับเพาะเชื้อ TB  ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ3-5 มล.
ขอรับขวดเหล่านี้ได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก ในวันที่ต้องการส่งตรวจ
ข้างขวด hemoculture จะมีbarcode ที่เป็น serial number สำหรับติดต่อกับการทำงานของเครื่อง ดังนั้นการติดแถบข้อมูลใดๆ ของผู้ป่วยห้ามไม่ให้ปิดทับ serial number นี้หรือทำให้ฉีกขาด
3. ปิดฉลาก ชื่อ-สกุล H.N. อายุ หอผู้ป่วย ลำดับที่ของขวด เวลาที่เจาะเก็บ และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นบนฉลากข้างขวด ห้ามปิดทับ barcode ของขวดหรือทำให้serial barcode ของขวดฉีกขาด
4. ควรเจาะเลือดก่อนให้ยาปฏิชีวนะ หรือเจาะเลือดก่อนให้ยาปฏิชีวนะครั้งต่อไป เจาะเลือด 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 30-60 นาทีในผู้ป่วยที่มีอาการหนักต้องให้ยาต้านจุลชีพด่วน อาจเจาะเลือดห่างกันในระยะเวลาที่น้อยลง
5. ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วยสำลีชุบ Alcohol ทิ้งไว้ให้แห้งนาน 1 นาที แล้ว ทำความสะอาดด้วย2% Chlorhexidine ทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 1 นาที ควรปล่อยให้บริเวณที่เช็ดแห้งก่อนเจาะเลือด และไม่ควรเจาะเลือดจากสายที่ให้สารละลายเข้าหลอดเลือด
6. ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ในการถ่ายเลือดจาก syringe ลงขวด hemoculture
7. นำส่งทันทีหากส่งช้าให้วางที่อุณหภูมิห้องไม่ควรเกิน 1 ชม. ห้ามเก็บในตู้เย็น เมื่อนำส่งถึง lab จะ incubate ที่ 35-37 c
8. ขวด hemoculture ใช้เฉพาะเลือดและไขกระดูก (bone marrow) เท่านั้น ถ้าเป็น body fluids ให้ใส่ในขวด sterile หรือขวด body fluids
     กรณีไม่มีเชื้อรายงาน  “No  Growth  after  3  days  ”   ขวดจะถูก  incubate  ต่อไป  จนครบ  7 วัน  ถ้าเชื้อเจริญขึ้นจะทำเช่นเดียวกับข้างต้น  เมื่อครบ  7 วัน  ไม่มีเชื้อขึ้นรายงาน  “No  Growth  after  7  days  ”
ii)                  ข้อแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้ออื่นๆ
(1)         สิ่งส่งตรวจจากอวัยวะสืบพันธุ์  (Urethral , Vaginal)  CSF, Body  fluids  เก็บที่อุณหภูมิห้องไม่เกิน  1 ชั่วโมง  ห้ามเก็บในตู้เย็น
(2)         ปัสสาวะ เก็บแล้วนำส่งทันที  ถ้าส่งไม่ได้ให้เก็บในตู้เย็น  ห้ามทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเกิน  2 ชั่วโมง  โดยเด็ดขาด
(3)         เสมหะ  (sputum)  และสิ่งส่งตรวจจากทางเดินหายใจ  (lung  biopsy, aspirate, bronchial  wash, throat  swab, nasophapharygeal  swab)  เก็บแล้วนำส่งทันที  ถ้าไม่สามารถส่งได้ทันที  ให้เก็บในตู้เย็น
(4)         หนอง  แผล  ฝี  นำส่งทันที  ถ้าไม่สามารถส่งได้ทันที  ให้เก็บในตู้เย็น
(5)         อุจจาระ  และ  rectal  swab  เก็บแล้วนำส่งทันที  ถ้าไม่สามารถส่งได้ทันที  ให้เก็บในตู้เย็น
                        การเตรียมสิ่งส่งตรวจ  GMS  โดยป้ายสิ่งส่งตรวจลงบนสไลด์  fix  ด้วย  95% alcohol  ทันทีหรือปล่อยแห้ง       กรอกข้อมูลในใบส่งตรวจให้ครบถ้วนชัดเจน  โดยเฉพาะชื่อ  H.N.  หอผู้ป่วยและตำแหน่งอวัยวะที่ส่งตรวจ  พร้อมข้อมูลทางคลินิกที่สำคัญเกี่ยวกับพยาธิสภาพที่คาดว่าจำเป็น  เพื่อประกอบการวินิจฉัย
iii)                ข้อแนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ  anaerobe
เก็บสิ่งส่งตรวจลงใน  Thioglycollate  broth  (รับที่ห้องปฏิบัติการสิ่งส่งตรวจที่เก็บโดย  swab  ป้าย  ให้รับใส่  swab ลงใน transport  media ปิดฝาให้แน่น ห้ามเขย่า ถ้าเป็นชิ้นเนื้อให้ใช้กรรไกรตัดใส่ลงใน  thioglycollate  broth  (กรุณาโทรแจ้งก่อนมารับ  Thioglycollate  broth)
สิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อ  anaerobe  นำส่งโดยเร็วที่สุด  ถ้าส่งไม่ได้ให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องห้ามเก็บในตู้เย็น   การเพาะเชื้อ  anaerobe  ใช้เวลา  3 – 5 วัน  หากมีเชื้อหลายชนิดอาจต้องใช้เวลาเพิ่มในการพิสูจน์ชนิดของเชื้อ  จะรายงานเบื้องต้นว่ามีเชื้อ  anaerobe  ขึ้น  โดยรายงานลักษณะ  gram  stain  ของเชื้อ

***การเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อเพาะเชื้อรา  ให้นำสิ่งส่งตรวจใส่ขวด  sterile  ส่งที่ห้องปฏิบัติการ***




ยินดีต้อนรับสู่ My Blog

Translate(แปลภาษา)

LABORATORY ล้วนๆ

จำนวนการดูหน้าเว็บ

- Copyright © LAB-KHUANDOON - Robotic Notes - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -