แนวทางปฏิบัติการขอเลือด

1.ขั้นการเขียนใบขอเลือดและเจาะเลือดผู้ป่วย
1.1 เขียนใบขอเลือดโดยกรอกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ลงในใบขอเลือด ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน ระบุวันจะใช้ หรือ ด่วนถ้ากรอกรายละเอียดไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน หรือลายมือที่อ่านยาก ฝ่ายธนาคารเลือด รพ.สตูล จะปฏิเสธ ไม่รับดำเนินการให้ ต้องกลับมาแก้ไขให้ถูกต้องก่อน
1.2 การสั่งขอเลือดในคอมพิวเตอร์ระบบ Hos-OS แล้วเลือก ชนิดของโลหิตที่ขอ เช่น Pack red cell 1 unit(23201)พร้อมทั้งยืนยันและดำเนินการค่าการจัดการการรับบริจาคโลหิต ถ้าขอ 2 Units ก็ให้สั่งซ้ำ 2 ครั้ง รพ.สตูลสามารถเตรียมส่วนประกอบโลหิตได้ทุกชนิด
1.3 การเจาะเลือดผู้ป่วย ก่อนเจาะเลือดให้ติดสติกเกอร์ที่ตรงกับใบขอเลือด ตามข้อ 1.1
1.4 ทำการเจาะเลือดผู้ป่วย อย่างถูกวิธี ไม่ให้เกิดการแตกของเม็ดเลือดแดง( Hemolysis )และเจาะไม่ผิดตัว โดยถามว่า ชื่อนามสกุลอะไรครับ/ค่ะ เพื่อให้ผู้ป่วยตอบชื่อ นามสกุลของเขาเอง เมื่อการระบุตัวผู้ป่วยถูกต้อง ตรงกับใบขอเลือดและข้างหลอด จึงทำการเจาะเลือด จำนวนประมาณ 6 มล. (ฝาสีแดง)ใส่ในหลอดสำหรับขอเลือดโดยเฉพาะ ไม่ต้องคว่ำ หงายหลอด นำส่งห้องปฏิบัติการพร้อมใบขอเลือด
1.5 ในทางปฏิบัติหากต้องการเตรียมความพร้อมในการให้เลือด หรือต้องการเจาะเลือดไว้รอคำสั่งอนุมัติจากแพทย์สามารถเจาะเก็บไว้ที่ห้องปฏิบัติการได้แต่ไม่ต้องส่งใบขอเลือด เมื่อแพทย์มีคำสั่งอนุมัติให้นำใบขอเลือดมายังห้องปฏิบัติเพื่อขอเลือดเป็นลำดับถัดไป(ควรทำในรายจำเป็นและให้เน้นการประหยัดในการใช้อุปกรณ์ labควบคู่กันไปด้วย)

2. ขั้นลงทะเบียนและไปขอเลือด
2.1 ลงทะเบียนรับสิ่งส่งตรวจ เจ้าหน้าที่งานชันสูตรฯ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของหลอดเลือด ใบขอเลือด และใบจ่ายเลือดใบเดิม (กรณีรับป่วยยังไม่จำหน่าย และมีการขอเลือดซ้ำอีก ต้องนำใบนี้ไปด้วยเพื่อตรวจสอบกับครั้งที่แล้ว )
2.2 ตรวจหาหมู่เลือดระบบ ABO และระบบ Rh ของผู้ป่วย โดยวิธี Cell grouping – slide method จากเลือดที่ส่งมาพร้อมกับใบขอเลือด แล้วบันทึกผลในคอมพิวเตอร์ระบบ Hos-OS
2.3 เตรียมอุปกรณ์ (กระติกและ Ice pack) สำหรับใส่หลอดเลือดไปขณะนำส่งและใส่ถุงเลือดกลับมา
2.4 ลงข้อมูลใน โปรแกรม LAB REFER หรือใบส่งlabที่เหมาะสม พร้อมใบขอรถ และประสานขอใช้รถให้ไปขอเลือด(ในวันเวลาราชการ)
2.5 นอกเวลาราชการ ในทางปฏิบัติห้องปฏิบัติการไม่สามารถขอรถได้ ให้หน่วยงานที่ขอเลือดประสานขอใช้รถให้ไปขอเลือดแทน ส่วนห้องปฏิบัติการจะอำนวยความสะดวกในการประสานงานและติดตาม ตามปกติ

 3. ขั้นการเก็บและขนย้ายโลหิต
3.1 เก็บในตู้เย็นที่ควบคุมอุณหภูมิ 4 ±2 องศาเซลเซียส เก็บได้นานตามชนิดของน้ำยากันเลือดแข็งที่ใช้ (อ่านรายละเอียดที่ข้างถุงเลือด)
3.2 การขนย้าย ควรบรรจุถุงโลหิต ในภาชนะที่มีอุณหภูมิ ใกล้เคียง 4 ±2 องศาเซลเซียส (ไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส)
3.3 เมื่อพลขับกลับจาก รพ.สตูล มาถึง รพ.ควนโดน  จะนำส่งให้เจ้าหน้าที่งานชันสูตรเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนจ่ายโลหิต

4. ขั้นการจ่ายเลือดให้ผู้ป่วย
4.1 ก่อนจ่ายเลือด เจ้าหน้าที่งานชันสูตรฯ จะลงทะเบียนโปรแกรม LAB REFER พร้อมพิมพ์ ใบเฝ้าระวังปฏิกิริยาการให้เลือด (FM-KD-LAB-021)  หรือใบเฝ้าระวังที่เหมาะสม เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องของหมู่เลือด ความครบถ้วนของจำนวนโลหิต หมายเลขถุงเลือดที่ได้รับมา เก็บเอกสารการจ่ายเลือดของ รพ.สตูล ไว้  เมื่อเสร็จเรียบร้อย จะโทร.ให้ หน่วยที่ขอ มารับเลือดและชุด (Set)ให้เลือด
4.2 การให้เลือดแก่ผู้ป่วยที่ Ward, ER หรือ LR จะมีการปฏิบัติตามขั้นตอน ภายใต้การกำกับดูแล เฝ้าดูอาการ โดยแพทย์และพยาบาล อย่างใกล้ชิด (FM-KD-LAB-021)

5. ขั้นการนำเลือด ส่งคืน รพ.สตูล
5.1 เลือดที่ไม่ได้ให้แก่ผู้ป่วย เจ้าหน้าที่ของหน่วยที่ขอใช้เลือด จะนำส่งคืนมาที่งานชันสูตร นำส่งคืนไปที่ รพ.สตูล (จ่ายเฉพาะค่า Matching เท่านั้น)
5.2 เกณฑ์การพิจารณาการส่งคืนเลือด
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบเปิด ต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมง (เลยเวลาห้ามใช้-ทิ้งลงถุงแดง)ในภาชนะที่มีอุณหภูมิ     
   ใกล้เคียง 4 ±2 องศาเซลเซียส
· PRC ถ้าเตรียมแบบระบบปิด วันหมดอายุ ดูที่ข้างถุงเลือด
· เกล็ดเลือด มีอายุ 24 ชั่วโมง หรืออย่างมากที่สุด 5 วันที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส
· FFP เก็บที่ Deep freeze เมื่อนำมาละลายแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 4 ชั่วโมง (ไม่ใช้ให้ทิ้ง)
· ส่วนประกอบโลหิตชนิดอื่นๆ ดูวันหมดอายุที่ข้างถุงเลือด
· ขอ Plt conc. หรือ Cryoprecipitated ให้จองล่วงหน้า

6.
กรณีที่ รพ.สตูล ขาดแคลนเลือด แนวทางแก้ไข มีเป็นลำดับดังนี้
· ประสานกับ รพ.ละงู
·
ประสานญาติผู้ป่วย เพื่อให้ไปบริจาคทดแทน
·
แผนกพยาธิ รพ.ตรัง
แนวทางการเก็บเลือด เพื่อการเพาะเชื้อ ให้ปฏิบัติดังนี้
 1. ก่อนเจาะเลือด นำขวด hemoculture ออกจากตู้เย็น ให้อุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิห้อง
2. เลือกชนิดของขวด hemoculture ให้ถูกต้องกับสิ่งส่งตรวจที่ต้องการเก็บ ดังนี้
   ขวด BacT/Alert สำหรับเพาะเชื้อ aerobe, anaerobe และ fungus แบ่งเป็น 3 ชนิด
- ขวด BacT/Alert FA สำหรับผู้ใหญ่หรือเด็กโต ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 5-10 มล.
- ขวด BacT/Alert PF สำหรับเด็กเล็ก ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ 0.5-4 มล.
- ขวด BacT/Alert MB สำหรับเพาะเชื้อ TB  ปริมาณเลือดที่เก็บขวดละ3-5 มล.
ขอรับขวดเหล่านี้ได้ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาคลินิก ในวันที่ต้องการส่งตรวจ
ข้างขวด hemoculture จะมีbarcode ที่เป็น serial number สำหรับติดต่อกับการทำงานของเครื่อง ดังนั้นการติดแถบข้อมูลใดๆ ของผู้ป่วยห้ามไม่ให้ปิดทับ serial number นี้หรือทำให้ฉีกขาด 
3. ปิดฉลาก ชื่อ-สกุล H.N. อายุ หอผู้ป่วย ลำดับที่ของขวด เวลาที่เจาะเก็บ และข้อมูลอื่นๆ ที่จำเป็นบนฉลากข้างขวด ห้ามปิดทับ barcode ของขวดหรือทำให้serial barcode ของขวดฉีกขาด 
4. ควรเจาะเลือดก่อนให้ยาปฏิชีวนะ หรือเจาะเลือดก่อนให้ยาปฏิชีวนะครั้งต่อไป เจาะเลือด 2-3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 30-60 นาทีในผู้ป่วยที่มีอาการหนักต้องให้ยาต้านจุลชีพด่วน อาจเจาะเลือดห่างกันในระยะเวลาที่น้อยลง 
5. ทำความสะอาดบริเวณที่เจาะเลือดด้วย 2% Chlorhexidine ทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 1 นาที ควรปล่อยให้บริเวณที่เช็ดแห้งก่อนเจาะเลือด และไม่ควรเจาะเลือดจากสายที่ให้สารละลายเข้าหลอดเลือด 
6. ใช้เทคนิคปราศจากเชื้อ ในการถ่ายเลือดจาก syringe ลงขวด hemoculture 
7. นำส่งทันทีหากส่งช้าให้วางที่อุณหภูมิห้องไม่ควรเกิน 1 ชม. ห้ามเก็บในตู้เย็น เมื่อนำส่งถึง lab จะ incubate ที่ 35-37 c 
8. ขวด hemoculture ใช้เฉพาะเลือดและไขกระดูก (bone marrow) เท่านั้น ถ้าเป็น body fluids ให้ใส่ในขวด sterile หรือขวด body fluids

 การแปลผล
เมื่อพบแบคทีเรียต่อไปนี้ในการเพาะเชื้อจากเลือด ก็อาจให้ความเห็นได้แน่นอนว่าเป็นเชื้อก่อ โรคคือ
- E. coli
- Klebsiella pneumoniae
- Enterobacter spp.
- Salmonella spp.
- Streptococcus group A และ group อื่นๆ
- Streptococcus viridans
- Streptococcus pneumoniae
- Haemophilus influenzae
- Neissria meningitides
- Vibrio spp. เป็นต้น
สำหรับเชื้อที่มักพบ contaminate จากผิวหนัง
 - diphtheroids
- Bacillus spp.
- Staphylococcus epidermidis
ยกเว้นในกรณีที่พบเชื้ออย่างน้อย 2 ใน 3ของการส่งตรวจหรือในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสสูงซึ่งจะต้อง Identify และทำ Sensitivity test ต่อซึ่งการจะตัดสินว่าเชื้อนั้นเป็นสาเหตุของโรคหรือไม่ก็จำเป็นต้องใช้อาการทางคลินิกช่วยพิจารณาด้วย
การทดสอบ
วิธีวิเคราะห์
สิ่งส่งตรวจ
วันทำ
ประกันเวลา
1. การย้อมสีชนิดต่างๆ
1.1 Gram stain

ย้อมสี

Pus, sputum จากคลินิกเท่านั้น, tissue, urine, body fluids, CSF

ทุกวัน

1 วัน
1.2 Acid fast stain
ย้อมสี
fast stain
Pus, sputum, tissue, body fluids, CSF
Stool (swab) เฉพาะรายที่มีanti-HIV positive เท่านั้น
ทุกวัน
1 วัน
1.3 Modified acid
ย้อมสี
fast stain
Pus, sputum, tissue, body fluids และ CSF
ทุกวัน
1 วัน
1.4 India ink stain
ย้อมสี
CSF
ทุกวัน
1 วัน
1.5 KOH
ย้อมสี
Pus, sputum, ผิวหนัง, ผม, เล็บ
ทุกวัน
1 วัน
2. Culture for aerobe
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
1. Blood
2. Body fluids/CSF
3. Pus/genital pus
4. Rectal swab/stool
5. Sputum/throat swab
6. Tissue/catheter tip/others
7. Urine
ทุกวัน
3 วัน
3 วัน
5 วัน
5 วัน
5 วัน
5 วัน
5 วัน
3. Culture for anerobe
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
1. หนองจากแผลลึก
ความไวของเชื้อ
2. หนองจากฝีในอวัยวะภายใน
ต่อยาปฏิชีวนะ
3. แผลที่มีเนื้อตายหรือมีอากาศอยู่
4. แผลที่อยู่ใกล้กับเยื่อเมือก
5. แผลที่ถูกคนหรือสัตว์กัด
ทุกวันราชการ             
10 วัน
การทดสอบ
วิธีวิเคราะห์
สิ่งส่งตรวจ
วันทำ
ประกันเวลา
4. Culture for mycobacteria
- TB (manual)
- TB-MB BacT(automate)
ส่งก่อนเวลา 15.30 น.
เพาะเชื้อ
Blood, pus, sputum, tissue, body fluids, CSF
ทุกวันราชการ
2 เดือน

45 วัน
5. Culture for fungus
เพาะเชื้อ
Blood, pus, sputum, tissue,ผิวหนัง, ผม, เล็บ, body fluids และ CSF
ทุกวันราชการ
2 สัปดาห์
6. Culture for
B. pseudomallei
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
Pus, sputum, tissue, body fluids, stool
ทุกวันราชการ
10 วัน
7. Culture for C. diptheriae
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
Throat swab
ทุกวันราชการ
7 วัน
8. Culture for C. jejuni
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
Rectal swab หรือ stool
ทุกวันราชการ
7 วัน
9. Culture for B. pertussis
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
Nasopharyngeal swab
ทุกวันราชการ
7 วัน
10. Culture for Brucella
เพาะเชื้อ/ทดสอบความไวของเชื้อต่อยาปฏิชีวนะ
Blood, pus
ทุกวันราชการ
5 - 10 วัน
11. Culture for Culture for RO fluid (การเพาะเชื้อจาก น้ำไตเทียม)
เพาะเชื้อและทำ dialysate colony count
น้ำไตเทียม
ทุกวันราชการ
5 -10 วัน
12. Culture for drinking water  (การเพาะเชื้อจากน้ำดื่ม)
เพาะเชื้อ, MPNและ colony count
น้ำดื่ม น้ำใช้
ทุกวันราชการ
5 -10 วัน




ยินดีต้อนรับสู่ My Blog

Translate(แปลภาษา)

LABORATORY ล้วนๆ

จำนวนการดูหน้าเว็บ

- Copyright © LAB-KHUANDOON - Robotic Notes - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan -